รายงานฉบับใหม่ชี้โอกาสสำคัญของภาคเอกชน ในการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติในด้านการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศ ความท้าทายในการลงทุนด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติ
และโอกาสในการทำธุรกิจแบบเจาะจงประเทศ |
ประเทศสิงคโปร์ - Media OutReach - 9 ธันวาคม
พ.ศ. 2563 -องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ
(Conservation International), ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS Bank), มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
(National University of Singapore) และบริษัทเทมาเส็ก (Temasek)
ได้ร่วมกันตีพิมพ์รายงานเรื่อง กรณีธุรกิจกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติ:
ข้อมูลเชิงลึกและโอกาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Business Case for
Natural Climate Solutions: Insights and Opportunities for Southeast Asia) โดยมีการนำเสนอรายงานฉบับนี้ในช่วงหนึ่งของการประชุมเสมือนจริงที่เรียกว่า การเจรจาอีโคสเปอริที (Ecosperity Conversations) ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดการอภิปรายที่มุ่งเน้นด้านความยั่งยืน
จัดขึ้นโดยบริษัทเทมาเส็ก รายงานนี้เป็นงานวิจัยที่จัดทำเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยชี้ให้เห็นโอกาสที่ธุรกิจต่าง ๆ จะลงทุนในการแก้ไขปัญหา
สภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติ (Natural
Climate Solutions: NCS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศ
ที่ควบคุมกระบวนการทางธรรมชาติเพื่อลดหรือกำจัดก๊าซเรือนกระจก เพื่อกระตุ้นการนำ
NCS ไปใช้ในวงกว้าง นอกจากนี้
รายงานยังนำเสนอประเด็นที่ธุรกิจต่าง ๆ นำไปปฏิบัติได้ เพื่อประเมินโอกาสของ NCS
และมีส่วนร่วมกับภาครัฐในภูมิภาค "เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติในวงกว้าง
เราต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการปรับใช้เงินทุน และรักษาทุนทางธรรมชาติ
รายงานฉบับนี้รวบรวมมุมมองต่าง ๆ
จากผู้มีบทบาทในหลายภาคส่วนเพื่อกำหนดกรณีการลงทุนสำหรับ
การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเป็นภูมิภาคหนึ่งที่เป็นอ่างเก็บคาร์บอนทั้งทางพื้นดิน
และทะเลที่มีปริมาณมากที่สุด" โรบิน ฮู
หัวหน้ากลุ่มความยั่งยืนและการให้การดูแลจากเทมาเส็กกล่าว กรณีทางธุรกิจสำหรับ NCS จากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(IPCC) คาดการณ์ว่าอุณหภูมิทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น
1.5 องศาเซลเซียสในระหว่างปี พ.ศ. 2573 ถึง 2595 ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบในระยะยาวต่อระบบธรรมชาติและมนุษย์
ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมีอัตราการเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงและเลวร้ายเพิ่มขึ้น[1] งานวิจัยหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า NCS มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาผลกระทบที่ร้ายแรงเหล่านี้
ด้วยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการบรรเทาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.1 หมื่นล้านตันต่อปี NCS สามารถบรรเทาผลกระทบที่จำเป็นได้กว่าหนึ่งในสาม
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของความตกลงปารีสภายในปี พ.ศ. 2573[2] แต่กระนั้น การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่ NCS ได้รับกลับมีไม่ถึง 3% ซึ่งเป็นสัญญาณให้ทราบว่าต้องมีการลงทุนเพื่ออุดช่องว่างทางการเงินที่จำเป็นสำหรับ
NCS ในการยกระดับและไปให้ถึงเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันที่รัฐบาลประเทศต่าง
ๆ เป็นผู้กำหนด เพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ลงจนเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2593
รายงานฉบับใหม่เน้นย้ำถึงบทบาทที่ธุรกิจต่าง ๆ
สามารถมีส่วนช่วยลดช่องว่างนี้ควบคู่ไปกับ
"เราจะพบว่าระบบนิเวศที่มีคาร์บอนสูงที่สุดในโลกหลายแห่ง
ทั้งป่าเขตร้อน พื้นที่ดินพรุ และป่าชายเลน อยู่ในเอเชียนี่เอง
ธรรมชาติมอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุดสำหรับกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ
แต่กลับมีเงินทุนไม่มาก
แม้ว่าจะมีการจัดทำข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศระดับองค์กรใหม่ ๆ ขึ้นทุกวัน
รายงานฉบับนี้มอบแนวทางการดำเนินงาน
ที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนโดยตรงในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแบบธรรมชาติ"
ดร. ริชาร์ด โจ รองประธานอาวุโสของ องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ
ฝ่ายพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก กล่าว โอกาสของ NCS
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลประโยชน์จาก NCS
ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเป็นที่จับตามอง
เนื่องจากภูมิภาคแห่งนี้มีป่าดิบชื้นที่กว้างใหญ่
รวมทั้งมีจำนวนต้นโกงกางและหญ้าทะเลที่หนาแน่น ประเทศต่าง ๆ
ในภูมิภาคนี้จึงมีเงื่อนไขที่ดียิ่งในการลงทุนด้าน NCS และการนำไปใช้ทั้งกับคาร์บอนทางพื้นดินและทางทะเล
รวมถึงศักยภาพมหาศาลสำหรับคาร์บอนที่ลงทุนได้ อาทิ
งานวิจัยฉบับใหม่จากศูนย์การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอิงตามธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
(NUS Centre for Nature-based Climate Solutions) ในปีนี้แสดงให้เห็นว่า
การปกป้องป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจทำให้เกิด
ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงถึง 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในหนึ่งปี มีความคืบหน้าอย่างมากในการใช้และปลุกเร้าให้เกิด NCS ในประเทศต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลายประเทศ กำลังพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสนับสนุนให้มีการผนวก NCS ไว้ในระเบียบเหล่านั้น
โดยในหน้าที่ 61-64 ของรายงานระบุถึงการวิเคราะห์ระดับของแต่ละประเทศ
ที่ประเมินนโยบายการลงทุนด้าน NCS ที่สำคัญที่สุด
รวมถึงโอกาสการมีส่วนร่วมทางนโยบายในการยกระดับ NCS นอกจากการปกป้องป่า
การปลูกป่าก็เป็นการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอีกประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศ
ที่เป็นไปได้มากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้กระทั่งหลังจากที่พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดทางชีวกายภาพ การเงิน
และการใช้ที่ดินแล้ว
การปลูกป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เป็นไปได้ระหว่าง
0.4 ถึง 0.5 พันล้านตันต่อปี[3] ในบรรดาระบบนิเวศต่าง
ๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่ามีความหนาแน่นสูงด้านการคาดการณ์ทางคาร์บอน
สำหรับการลงทุนด้าน NCS รวมถึงคาร์บอนทั้งทางพื้นดินและทางทะเล "การบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นไปได้และการผลตอบแทนทางการเงินของ
NCS เทียบได้กับการแก้ไขปัญหา โดยการบรรเทาทางวิศวกรรม
หากพิจารณาผลประโยชน์ร่วมอื่น ๆ ที่มาจาก NCS เช่น
อากาศและน้ำที่สะอาด ความสามารถในการฟื้นตัวของชายฝั่ง
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองความมั่นคงทางอาหาร
และการป้องกันน้ำท่วม จะเห็นว่า NCS ให้ผลประโยชน์มากกว่า"
ศาสตราจารย์โกห์ เหลียน ปิน ผู้อำนวยการศูนย์การแก้ไขปัญหา
สภาพภูมิอากาศอิงตามธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว การผลักดัน NCS
ให้มีบทบาท รายงานชี้ให้เห็นการดำเนินการห้าด้านที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ
นำ NCS ไปใช้
มิคเคิล ลาร์เซน
ประธานกรรมการด้านความยั่งยืนของธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์กล่าวว่า
"การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ
แบบธรรมชาตินำเสนอวิธีการที่ดึงดูดในการจัดการกับแนวโน้มที่เป็นภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความพยายามโดยรวมในกลุ่มผู้มีบทบาททั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกุญแจสำคัญ
ที่จะทำให้เรื่องนี้บรรลุผล ด้วยวิทยาศาสตร์ นักลงทุน และหน่วยโครงสร้างอื่น ๆ
ของระบบนิเวศที่กำลังเข้าที่เข้าทางนี้
ตอนนี้เราจึงมาถึงจุดเปลี่ยนที่เราสามารถกระตุ้นการเติบโตและผลักดันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากโดยมีการผสานการลงทุน
นวัตกรรม และความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน
ภาคเอกชนจำเป็นต้องพิจารณาผลประโยชน์ของชุมชนที่ตนรับใช้มากกว่าที่เคย
แทนการมุ่งเน้นไปที่ผู้ถือหุ้นเป็นหลัก สิ่งนี้ไม่เพียงเป็นการทำสิ่งที่ถูกต้อง
แต่ยังทำให้ธุรกิจต่าง ๆ อยู่ในจุดที่เหมาะสม ต่อการบรรเทาความเสี่ยงที่เป็นเป็นไปได้
และคว้าโอกาสในเขตแดนใหม่นี้ ที่ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ เรามุ่งมั่นสนับสนุน
การพัฒนาความร่วมมือและกรอบการทำงานทางอุตสาหกรรม
ที่จะช่วยปูทางไปสู่อนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนยิ่งขึ้น" |