กฟผ. มุ่งเชื้อเพลิงสะอาดเต็มสตรีม จับมือ 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น ร่วมพัฒนาเทคโนลดคาร์บอน
กฟผ. ผสานพลัง 5
บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ร่วมมือศึกษาและพัฒนา ‘ไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาด ครบวงจร-ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ-พัฒนา BESS’ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด
หนุนลดปล่อยคาร์บอนภาคผลิตไฟฟ้า สร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่สิ่งแวดล้อมที่ดี
ร่วมผลักดันประเทศสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศโลก
นายสุพัฒนพงษ์
พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายนิชิมุระ
ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) โดยนายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กับ นายโทโมอากิ
อิชิดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค ไลน์ จำกัด นายคิมิโฮะ ซากุราอิ
รองผู้อำนวยการ บริษัท ชิโยดะ คอร์ปอเรชั่น และ นายโชอิจิ โอกิวาระ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย)
จำกัด เพื่อศึกษาและพัฒนาโครงการไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดครบวงจร รวมถึง MOU
เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ กับ นายฮิโรโนบุ
อิริยะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) และ MOU เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy
Storage System : BESS) กับนายโคจิ ทาเคดะ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง
บริษัท IHI Corporation ในการประชุม 1st
Asia Zero Emission Community Ministerial Meeting ซึ่งจัดขึ้นโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมี นายประจวบ ดอนคำมูล
ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ กฟผ. และ นายนรินทร์ เผ่าวณิช
ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง กฟผ. เข้าร่วมงาน
นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับเทรนด์พลังงานโลกที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด จึงได้แสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไฮโดรเจน และแอมโมเนีย เป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเผาไหม้ ขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ BESS เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นความร่วมมือใน MOU ทั้ง 3 ฉบับจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำในระดับสากลนำไปสู่การขับเคลื่อนเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี และความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศโลกในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย)
ทั้งนี้ กฟผ. ตั้งเป้าหมายสนองตอบนโยบายภาครัฐในการร่วมนำประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 โดยขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์ ‘Triple S’ ได้แก่
1) Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนำ BESS มาใช้งาน
2) Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน เดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่ รวมถึงศึกษาการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการกักเก็บคาร์บอน และ
3) Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในภาคประชาชน
ผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร
เป็นต้น
EGAT joins hands with 5 top
Japanese companies to develop carbon reduction technologies
EGAT joined forces with five leading
Japanese companies to study and develop ‘full-cycle clean hydrogen and ammonia,
biofuel production, and BESS’ in order to share knowledge on clean energy
technologies, support carbon emission reduction in the power generation sector,
enhance energy security coupled with environmental conservation, drive Thailand
toward Carbon Neutrality, and build sustainability for the global climate.
On March 4, 2023, Mr. Supattanapong Punmeechaow, Deputy Prime Minister and
Minister of Energy, and Mr. Nishimura Yasutoshi, Minister of Economy, Trade and
Industry, witnessed the signing ceremony for the memorandum of understanding
(MOU) to study and develop full-cycle clean hydrogen and ammonia between the
Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), signed by Mr. Nitus
Voraphonpiput, EGAT Deputy Governor - Fuel, and Mr. Tomoaki Ichida, Executive
Officer of Mitsui O.S.K. Lines, Ltd.; Mr. Kimiho Sakurai, Associate Director of
Chiyoda Corporation; and Mr. Shoichi Ogiwara, President of Mitsubishi Company (Thailand)
Ltd. as well as the MOU to study and develop biofuel production technologies
with Mr. Hironobu Iriya, Chairman of the Board of TTCL Public Company Limited,
and the MOU to develop Battery Energy Storage System (BESS) technologies with
Mr. Koji Takeda, Managing Executive Officer of IHI Corporation, during the 1st Asia Zero Emission Community Ministerial Meeting
held by the Japanese and Thai Governments at Tokyo, Japan. The event was also
attended by Mr. Prajuab Doncommul, EGAT Assistant Governor - Mae Moh Mine and
Mr. Narin Phoawanich, EGAT Assistant Governor - Fuel Management.
EGAT Deputy Governor - Fuel revealed that as EGAT
has placed importance on the global
energy transition trend, it seeks alternative fuels for power generation to
lessen CO2 emissions. Hydrogen and ammonia are
future fuels with zero carbon emissions during combustion, while biofuel is a
clean and eco-friendly energy. Moreover,
BESS is a technology that improves the stability of energy storage management
for electric power generated from renewable energy. The
cooperation under these three MOUs will enable technology exchange between
leading international companies, which enhances clean energy technologies,
increases business opportunities, supports technology deployment for
power generation in Thailand, and ensures energy security, a good environment,
and sustainability for the global climate in the future. Therefore, these MOU signings mark an essential step
toward the energy transition of Thailand.
EGAT aims to support the
government’s policy, driving Thailand toward Carbon Neutrality by 2050 and Net Zero Emissions by 2065 with
‘Triple S’ strategy as follows:
11) Sources Transformation: increase renewable energy share in
the generation mix, overhaul power plants and the power system with new
technologies to support renewable electricity generation, and deploy BESS
2)
Sink Co-creation: increase sources for carbon
sequestration, implement One-Million-Rai
Reforestation Project, and conduct the study to use new technologies for capturing carbon
3)
Support Measures Mechanism: enhance public participation in
greenhouse gas reduction through Energy-Saving Label No.5 Project, promote EV deployment, etc.