กกพ. ทบทวนเอฟทีภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมฯ 154.92 สตางค์/หน่วย ตามแนวทางการบริหารจัดการของกระทรวงพลังงาน
หลังจากกระทรวงพลังงานให้ ปตท. และ กฟผ. ทบทวนประมาณการสมมุติฐานราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน และภาระหนี้คงค้างของ กฟผ. เพื่อบรรเทาผลกระทบผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องจ่ายค่าเอฟที 154.92 สตางค์ต่อหน่วยจากเดิมที่ต้องจ่ายค่าเอฟที 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มนี้จึงต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 5.33 บาทต่อหน่วยในรอบบิลค่าไฟฟ้า ม.ค. - เม.ย. 66 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 60/2565 (ครั้งที่ 827) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 พิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟทีเพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากที่ กฟผ. และ ปตท. ทบทวนประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน และภาระหนี้คงค้างของ กฟผ. สำหรับการคำนวณอัตราค่าเอฟที (Ft) ตามที่ กกพ. ได้พิจารณาไปแล้วในการประชุมครั้งที่ 58/2565 (ครั้งที่ 825) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 โดยมีสมมุติฐานที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
สมมุติฐาน |
มติ กกพ. ในการพิจารณา |
ข้อมูลที่ ปตท. และ กฟผ. นำเสนอใหม่ ในการพิจารณาวันที่ 28 ธ.ค. 2565 (เปลี่ยนแปลง) |
ราคาก๊าซธรรมชาติ (บาท/ล้านบีทียู) ราคา Pool Gas - ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย - Pool Gas |
493
237 535 |
466 (-27)
237 496 |
สัดส่วนก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย / เมียนมา / LNG |
45% / 18% / 38% |
45% / 18% / 38% |
ราคา Spot LNG (USD/MMBTU) |
31.577 |
29.60 (-1.98) |
ราคาน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า (บาท/ลิตร) |
31.94 |
28.22 (-3.72) |
ปริมาณน้ำมันดีเซลในการผลิตกระแสไฟฟ้า (ล้านลิตรต่อเดือน) |
มากกว่า 400 |
มากว่า 400 |
อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) (บาท/USD) |
37 |
35.68 (-1.32) |
การคำนวณค่า Ft |
|
|
ภาระหนี้สะสมจากการเรียกเก็บ Ft ของ กฟผ. (122,257 ล้านบาท) |
33.33 (ทยอยเรียกเก็บคืนภายใน 2 ปี) |
22.22 (ทยอยเรียกเก็บคืนภายใน 3 ปี) |
ค่า Ft ที่คำนวณได้ |
176.57 |
145.74 (-30.83) |
กรณีนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้ประชาชนก่อน ตามมติ กพช. |
ค่า Ft (สต./หน่วย) |
ค่า Ft (สต./หน่วย) |
ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย |
93.43 |
93.43 |
ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น
|
190.44 (+97.01 จากงวดก่อนหน้า) |
154.92 (-35.52) (+61.49 จากงวดก่อนหน้า) |
อัตราค่าไฟฟ้าในรอบบิล ม.ค. – เม.ย. 2566 |
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) |
ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย (Ft = 93.43 สต.) |
4.72 |
4.72 |
ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น |
5.69 (+97.01 สต., +21%) |
5.33 (+61.49 สต., +13%) |
หมายเหตุ:* กฟผ. คำนวณกรณีศึกษาเพิ่มเติม โดยจัดสรรก๊าซอ่าวไทยเพื่อการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ราคา 237 บาทต่อล้านบีทียู ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน (รวมการทยอยคืนค่า AF ให้กับ กฟผ. 22.22 สตางค์ต่อหน่วย) ตามมติ กพช. ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 28.16 จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด หรือประมาณ 64,980 ล้านบีทียู ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2566 ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้ใช้ก๊าซรายอื่นเพิ่มขึ้นเป็น 496 บาทต่อล้านบีทียู
จากการปรับเปลี่ยนสมมุติฐานดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงต้องจ่ายค่า Ft ในอัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่นๆ ต้องจ่ายค่า Ft ในอัตรา 154.92 สตางค์ต่อหน่วย ค่า Ft
ดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย
นอกจากนี้ นายคมกฤช ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป ผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ประเภท จะได้รับการปรับลดอัตราค่าบริการรายเดือน ดังนี้
เดิม ใหม่
(1) ประเภทบ้านอยู่อาศัย ใช้มากกว่า 150 หน่วย 38.22 บาท/เดือน 24.62 บาท/เดือน
ประเภทบ้านอยู่อาศัย แรงดันต่ำ อัตรา TOU 38.22 บาท/เดือน 24.62 บาท/เดือน
(2) กิจการขนาดเล็ก แรงดันต่ำ 46.16 บาท/เดือน 33.29 บาท/เดือน
(3) กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร อัตรา TOU 228.17 บาท/เดือน 204.07 บาท/เดือน