แชร์

CEO กรุงไทย โชว์ศักยภาพขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล “ปิดช่องว่าง สร้างอนาคต” เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนไทย ในเวทีประชุมระดับโลก ICIS 2024

อัพเดทล่าสุด: 18 ธ.ค. 2024
42 ผู้เข้าชม

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เข้าร่วมงานประชุมระดับโลก  International Conference on Information Systems (ICIS 2024)  โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2567  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการประชุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ นิสิต นักศึกษา ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า  1,700 คน จาก 46 ประเทศทั่วโลก ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค

นายผยง ได้ร่วมเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ  ดิจิทัลแฟลตฟอร์มสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ : ปิดช่องว่าง สร้างอนาคต ร่วมกับ Mr.Balaji Ganapathy Chief Social Responsibility Officer  Tata Consultancy Service ว่า    ธนาคารได้ปรับตัวปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้ตัดสินใจพัฒนา Mobile Banking ซึ่งเป็นระบบปิด พร้อมกับพัฒนาระบบเปิด  หรือ Open Finance  ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด  และก้าวนำคู่แข่งได้  โดยนำ Cloud Technology  มาใช้เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก และรองรับการใช้งานที่มีการประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ พร้อมเรียนรู้กรณีศึกษาจากต่างประเทศ ทั้ง Concept ของ Open Finance ที่ได้จากกรณีศึกษาของ Santander Bank และ BBVA ในยุโรป  รวมถึงกรณีศึกษาในประเทศจีน ที่ออกแบบระบบรองรับการใช้งานจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธนาคารสามารถปรับโครงสร้างระบบให้ทันสมัย และรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

             ทั้งนี้ การพัฒนาระบบเปิด ทำให้ธนาคารสามารถเชื่อมต่อข้อมูล และสร้าง Ecosystem ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ COVID-19 ธนาคารใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยรัฐบาลในการแจกจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการธนาคารได้ โดยใช้ระบบ Digital ID เชื่อมต่อประชาชนกับบริการของรัฐบาล ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วและโปร่งใส อีกทั้ง ยังช่วยจัดการในเรื่องการฉีดวัคซีน COVID-19 และช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้สามารถเพิ่มผู้ใช้งาน จาก 3.5 ล้านคน เป็น 40 ล้านคน ได้ในเวลา 3 ปี

            นายผยง กล่าวว่า การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรไม่ใช่แค่เรื่องการออกแบบหรือเริ่มต้นให้ถูกต้อง แต่ต้องมีการเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่องผ่าน Lesson Learned ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีหรือบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้ตรงจุด นอกจากนี้ ต้องมีแพลตฟอร์ม  ที่สามารถใช้งานได้จริง ดึงดูดผู้ใช้งาน และรักษาผู้ใช้งานไว้ได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคือ Operating Model ซึ่งต้องมีการปรับและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการและพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล หากไม่แน่ใจว่า ทั้งองค์กรและชุมชนที่เกี่ยวข้องสามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจส่งผลให้เกิด Digital Divide หรือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Ecosystem ที่
ทุกฝ่ายสามารถร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยี ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยี จึงมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร และได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ประโยชน์ ทั้ง Automation, Predictive AI, Machine Learning และ Generative AI เพื่อให้การดำเนินงานในธนาคารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเสริมสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของธนาคารกรุงไทย

นายผยง กล่าวว่า ภาคธนาคารเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า ในอีก 5-7 ปี ข้างหน้าอย่างน้อย  30% ของแรงงานในภาคธนาคาร จะได้รับผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ  คำถามสำคัญคือ ธนาคารจะสามารถ Reskill พนักงานให้สามารถปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่  นอกจากนี้ การปรับกระบวนการทำงานและโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาที่รวดเร็วจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธนาคารสามารถแข่งขันและเติบโตได้ในอนาคต อีกทั้งการจัดหาทุนสำหรับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต


บทความที่เกี่ยวข้อง
เอสซีบีเอกซ์ ประกาศผลกำไรสุทธิประจำปี 2567 จำนวน 43,943 ล้านบาท โดยมีสถานะการเงินแข็งแกร่งและการบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างรอบคอบ
บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิของปี 2567 จำนวน 43,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.0% จากปีก่อน และกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสสี่ปี 2567 จำนวน 11,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% จากปีก่อน
21 ม.ค. 2025
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท  เติบโต 77.7% 21 มกราคม 2568
พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567
21 ม.ค. 2025
เงินติดล้อ จัดกิจกรรม TIDLOR Culture Wow  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้กับตัวแทน บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด
บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณกาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้เงินติดล้อ (TIDLOR Academy) นำทีมงานต้อนรับผู้บริหารและพนักงานจาก
21 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy