แชร์

มุ่งสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน กฟผ. จับมือ จุฬาฯ เดินหน้าศึกษากระบวนการผลิตไฮโดรเจน หวังใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าแทนฟอสซิล

อัพเดทล่าสุด: 9 เม.ย. 2025
120 ผู้เข้าชม

กฟผ. และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามสัญญามอบทุนวิจัยการศึกษากระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดิบธรรมชาติ เพื่อผลิตไฮโดรเจนด้วยกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ให้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างยั่งยืน สนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ

ดร.นรินทร์ เผ่าวณิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ร่วมลงนามสัญญามอบทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การศึกษากระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดิบธรรมชาติ ณ พื้นที่กรณีศึกษา เพื่อการผลิตไฮโดรเจนด้วยกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ. และประธานกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน กฟผ. นายวีระ ตั้งวิชาชาญ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง กฟผ. และ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ กรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 3 อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ กฟผ. 

ดร.นรินทร์ เผ่าวณิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ควบคู่กับการให้ความสำคัญในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ผ่านกลยุทธ์สำคัญด้วยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ตลอดจนศึกษาเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในอนาคต กฟผ. มีแผนนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจากเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ความร่วมมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากน้ำด้วยกระบวนการแยกน้ำโดยไฟฟ้า พร้อมต่อยอดสู่การทดลองในระบบต้นแบบ (Pilot Scale) ก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กล่าวเสริมว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเป้าหมายของ กฟผ. ในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ผ่านการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดิบธรรมชาติโดยบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ตลอดจนการวิจัยเชิงนวัตกรรมและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและสถาบันการศึกษา เพื่อนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีตอบโจทย์ความท้าทายด้านพลังงานสะอาดและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน และขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 30 กันยายน 2569


บทความที่เกี่ยวข้อง
เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) รับรางวัล IAA Best Analyst Awards 2024 ยอดเยี่ยมกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดย นายจักร เรืองสินภิญญา กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ Outstanding กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี จากเวที IAA Best Analyst Awards 2024
29 เม.ย. 2025
วิริยะประกันภัย ร่วมเฝ้า ฯ รับเสด็จในหลวงและพระราชินี  ทอดพระเนตรโครงการวิริยะตะกาฟุล ณ งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบูธประชาสัมพันธ์โครงการ วิริยะตะกาฟุล ของ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
29 เม.ย. 2025
NCP ผู้ถือหุ้นอนุมัติจ่ายปันผล 0.068บ./หุ้น
พลเอกบุณยวัจน์ เครือหงส์ ประธานกรรมการบริษัท, นายนพพล ชูกลิ่น ประธานกรรมการบริหาร และนายศรัณย์ เวชสุภาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
29 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy