จีดีพีไตรมาส 1 ขยายตัว 3.1% สภาพัฒน์คาดจีดีพีปี 2568 โต 1.3-2.3%ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก
อัพเดทล่าสุด: 21 พ.ค. 2025
62 ผู้เข้าชม
- เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2568 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.1%YoY แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ทั้งการเร่งส่งออกก่อนการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และการลงทุนภาครัฐที่ฐานต่ำในปีก่อนจากการเบิกจ่ายที่ล่าช้า โดยสภาพัฒน์ได้ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2568 ลงให้อยู่ในช่วง 1.3%-2.3% (ค่ากลาง 1.8%) จากผลกระทบของนโยบายการค้าสหรัฐฯ
- Krungthai COMPASS ประเมินว่าแม้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ปี 2568 จะขยายตัวดีที่ 3.1%YoY แต่แรงส่งหลักของเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอลง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักเริ่มเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้า โดยไทยยังไม่มีกำหนดการที่ชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม และต้องอาศัยมาตรการภาครัฐเพิ่มเติมทั้งด้านการบรรเทาผลกระทบ และการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
Krungthai Compass
จีดีพีไตรมาส 1/2568 ขยายตัว 3.1%YoY ต่อเนื่องจากการขยายตัว 3.3% ในไตรมาสก่อน ตามการส่งออกสินค้า
การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2568 ขยายตัว 3.1%YoY และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวได้ 0.7%QoQSA โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจาก
- การส่งออกสินค้าและบริการยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ โดยมีการขยายตัวสูงถึง 12.3%YoY เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 10.6%YoY โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหนึ่งจากการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงผลจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวที่ 7.0%YoY ตามจำนวนนักเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
- การลงทุนภาครัฐขยายตัว 26.2%YoY โดยขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อีกทั้ง การขยายตัวที่สูงนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานที่ต่ำจากการเบิกจ่ายที่ล่าช้าในปีก่อน
- การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 2.6%YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการใช้จ่ายในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่รวมแอลกอฮอล์ที่ขยายตัว 2.7%YoY เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแรงลง
- การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ที่ -0.9% จากการหดตัวในหมวดก่อสร้างที่หดตัว -3.8% โดยเฉพาะอาคารที่อยู่อาศัย ด้านการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือหดตัวเล็กน้อยที่ -0.3%แม้เศรษฐกิจในไตรมาส 1 จะขยายตัวที่ 3.1%YoY แต่แรงส่งแผ่วลงในหลายด้าน โดย
- การลงทุนภาครัฐมีทิศทางลดลงที่ -12.3%QoQSA หลังจากที่เร่งตัวสูงในช่วงก่อน จากการเบิกจ่ายภาครัฐที่ล่าช้าในปีงบประมาณ 2567
- การส่งออกบริการหดตัว -1.3%QoQSA จากไตรมาสก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงส่วนหนึ่งจากความกังวลด้านความปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว และความนิยมที่เปลี่ยนไปท่องเที่ยวในประเทศคู่แข่งของไทยมากขึ้น
- นอกจากนี้ การส่งออกที่ขยายตัวดี ไม่ได้สะท้อนไปยังภาคการผลิต เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการส่งออกโดยการใช้สินค้าคงคลัง ทั้งนี้ เมื่อหักผลจากการนำเข้าสินค้าและการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลังแล้วพบว่า แรงขับเคลื่อนที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก มี contribution to GDP ในไตรมาสนี้ที่ -0.7%
- กรณีฐาน สหรัฐฯเก็บ Reciprocal tariff อัตราครึ่งหนึ่งของที่ประกาศ แต่ไม่ต่ำกว่า 10% โดยมองเศรษฐกิจโลกขยายตัว 2.6%YoY
- กรณีสูง สหรัฐฯเก็บ Reciprocal tariff 10% เก็บภาษีนำเข้าจากจีน 30% คาดเศรษฐกิจโลกยังขยายตัว 2.8%YoY
- กรณีต่ำ สหรัฐฯ เก็บ Reciprocal tariff ตามอัตราที่ประกาศ เก็บภาษีนำเข้าจากจีน 145% โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัว 2.2%YoY
- Krungthai COMPASS ประเมินว่าแม้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ปี 2568 จะขยายตัวดีที่ 3.1%YoY แต่แรงส่งหลักของเศรษฐกิจมีทิศทางชะลอลง แม้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ จากการเร่งส่งออกก่อนการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ทำให้ภาคการผลิตดีขึ้น นอกจากนี้ การนำเข้าที่ชะลอลง สะท้อนอุปสงค์ในระยะข้างหน้าที่เริ่มแผ่วลง
- ภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักมาหลายไตรมาสมีแนวโน้มแผ่วลง โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่หากหักผลของฐานที่ต่ำจากการเบิกจ่ายที่ล่าช้าในปีก่อน จะส่งผลให้ GDP ไตรมาสนี้ขยายตัวได้เพียงประมาณ 2% เท่านั้น
- การลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักในปี 2568 ตามการออกบัตรส่งเสริม BOI ที่สูงในปีก่อน เริ่มเผชิญความท้าทาย โดยแม้ว่าการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์จะขยายตัวที่ 0.9%QoQSA แต่ความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าโลก ส่งผลให้ธุรกิจมีแนวโน้ม wait-and-see จนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนจากการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ
- Krungthai COMPASS มองว่ามีความท้าทายมากขึ้นที่เศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขยายตัวได้ที่ 2% ตามที่เคยประเมินไว้เดิม จากแรงส่งเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ที่แม้จะขยายตัว แต่โมเมนตัมเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแรง อีกทั้งความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้า โดยไทยยังไม่มีกำหนดการที่
ชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม และต้องอาศัยมาตรการภาครัฐเพิ่มเติมทั้งด้านการบรรเทาผลกระทบ และการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ายณัฐพงศ์ บุญเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พิธีลงนามเซ็นสัญญาคู่ค้า ภาค 3 (ภาคตะวันออก) ประจำปี 2568 2569
21 พ.ค. 2025
(กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 21 พฤษภาคม 2568) บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด นำโดยนาย โทชิฮิโระ มิเบะ ผู้อำนวยการ ประธานกรรมการบริหาร และตัวแทนเจ้าหน้าที่บริหาร แถลงแนวทางการดำเนินธุรกิจของฮอนด้า เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
21 พ.ค. 2025
บริษัท นูทริชั่น โปรเฟส จำกัด (มหาชน) หรือ NUT ผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารครบวงจร ปิดท้ายโรดโชว์ให้ข้อมูลแก่นักลงทุนกรุงเทพมหานครฯ หลังได้รับการตอบรับจากนักลงทุนทั่วประเทศ
21 พ.ค. 2025