แชร์

รู้เท่าทันอัตราดอกเบี้ย ช่วยบริหารภาระหนี้อย่างฉลาด

อัพเดทล่าสุด: 3 ก.ค. 2025
134 ผู้เข้าชม

ในยุคที่ดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง การกู้ยืมเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงการใช้บัตรเครดิต ต่างมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนชีวิตทางการเงินของคนยุคนี้ แต่ก่อนจะตัดสินใจกู้เงิน หรือรูดบัตรเครดิต สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเข้าใจเรื่อง "ดอกเบี้ย" ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้กลายเป็นภาระหนี้จนเกิดทุกข์
 
ดอกเบี้ยมีหลายแบบ เข้าใจให้ถูก ช่วยประหยัดเงินจริง

ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้แน่นอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบสัญญา ผู้กู้จึงสามารถวางแผนผ่อนชำระได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของดอกเบี้ยในตลาด เหมาะกับผู้ที่ต้องการความแน่นอนทางการเงิน อย่างสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อแบบมีหลักประกัน ได้แก่ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์
 
ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ตรงกันข้ามกับแบบแรก ดอกเบี้ยลอยตัวจะปรับขึ้นลงตามภาวะตลาดการเงิน ซึ่งอิงกับตัวเลขมาตรฐานของแต่ละสถาบันการเงิน เช่น- MLR (Minimum Loan Rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี- MOR (Minimum Overdraft Rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ทั่วไป- MRR (Minimum Retail Rate) สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีใครเลือกใช้สินเชื่อแบบดอกเบี้ยลอยตัว จึงต้องติดตามทิศทางดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เพราะมีผลต่อยอดผ่อนชำระในอนาคตโดยตรง
 
รู้ทันวิธีคิดดอกเบี้ย Flat Rate vs Effective Rate
ไม่ใช่แค่ประเภทของดอกเบี้ย แต่ "วิธีคิดดอกเบี้ย" ก็มีผลต่อเงินในกระเป๋า Flat Rate หรือเงินต้นคงที่ นิยมใช้ในสินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อผ่อนชำระสินค้า จะคำนวณดอกเบี้ยจากยอดกู้เต็มจำนวนตลอดอายุสัญญา ถึงแม้เงินต้นจะลดลง แต่ดอกเบี้ยคิดจากยอดเต็มตั้งแต่ต้นจนจบ  ส่วน Effective Rate หรือลดต้นลดดอก มักใช้กับสินเชื่อบ้านหรือบัตรเครดิต โดยคำนวณดอกเบี้ยจากยอดหนี้คงเหลือในแต่ละงวด เมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยก็ลดลงตาม ที่สำคัญคือ ตัวเลข Flat Rate มักดูต่ำกว่า แต่จริงๆ แล้วภาระดอกเบี้ยจริงอาจสูงกว่ามาก เช่น Flat Rate 18% อาจแปลงเป็น Effective Rate สูงถึง 32% ต่อปีเลยทีเดียว
 
บัตรเครดิต ใช้เป็นเหมือนอาวุธ ใช้ผิดกลายเป็นภาระ
หากใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย บัตรเครดิตจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สะดวกและมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของหนี้สะสม หากขาดการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้น ก่อนสมัครบัตรเครดิต ควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลให้ดี และพึงระลึกไว้เสมอว่าบัตรเครดิต คือ เงินอนาคต ที่ต้องชำระอย่างมีวินัยและรับผิดชอบ เมื่อถึงกำหนดเวลา โดยทั่วไปจะมีระยะปลอดดอกเบี้ยประมาณ 45-56 วัน แต่หากชำระล่าช้าเกินระยะเวลาที่กำหนด หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน (การชำระค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำอยู่ที่ 8% ของยอดค้างชำระ) ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นแบบ Effective Rate ไม่เกิน 16% ต่อปี (รวมค่าปรับและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว) สำหรับค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 3% จากยอดเงินที่เบิก พร้อม VAT 7% (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2568)

ดอกเบี้ยไม่ใช่เรื่องไกลตัว ความเข้าใจผิดเพียงเล็กน้อย อาจกลายเป็นภาระหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคตได้ง่ายๆ สิ่งสำคัญคือ การมีวินัยทางการเงิน วางแผนหนี้ให้เหมาะสมกับรายได้ และรู้เท่าทันกลไกทางการเงินแต่ละแบบอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้สามารถใช้สินเชื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างปลอดภัย


บทความที่เกี่ยวข้อง
APM ต้อนรับ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนประเทศมาเลเซีย
นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ให้การต้อนรับ Mr.Azman Ahmad (ที่ 5 จากขวา) Head of Equities Department สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์มาเลเซีย
4 ก.ค. 2025
ไทยฮอนด้า เผยโฉมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า New Honda CUV e: เพื่อคนเมืองยุคใหม่ ดีไซน์ล้ำสมัย ขับขี่สบาย ไร้มลพิษ พร้อมให้คนไทยเช่าใช้งานแล้ววันนี้!
ไทยฮอนด้า ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าในประเทศไทย เปิดประสบการณ์ใหม่ของการเดินทางในเมือง ด้วย New Honda CUV e: รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 100% รุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด Smart Ride, Future Ready
4 ก.ค. 2025
วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดตัว Volvo GO แคมเปญสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตผ่านความอิสระและการเดินทาง
วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดตัว Volvo GO แคมเปญพิเศษที่รวบรวมกิจกรรมไลฟ์สไตล์หลากหลายแนวเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนออกไปเปิดโลกกว้าง ค้นหาประสบการณ์ใหม่ให้ชีวิตตามความมุ่งมั่นของวอลโว่ในการนำเสนอความปลอดภัย
4 ก.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy