แชร์

ยูโอบี ประเทศไทย จับมือ สกพอ. ร่วมขับเคลื่อนการลงทุนสู่ไทย

อัพเดทล่าสุด: 3 ก.พ. 2025
204 ผู้เข้าชม

กรุงเทพฯ, 3 กุมภาพันธ์ 2568 - ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และเสริมสถานะให้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับนักลงทุนต่างชาติ พร้อมช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศ ผ่านเครือข่ายธนาคารยูโอบี ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ธนาคารยูโอบี และ สกพอ. จะนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีมาร่วมนำเสนอโซลูชันทางการเงินและบริการให้คำปรึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการลงทุนให้ราบรื่นยิ่งขึ้น ยกระดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมอุตสาหกรรมหลักตามกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อันได้แก่ ยานยนต์ยุคใหม่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัลและนวัตกรรม รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียวและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายริชาร์ด มาโลนี่ย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า การร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี และ สกพอ. แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเราจะให้การสนับสนุนแบบครบวงจรแก่นักลงทุนทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางชั้นนำด้านนวัตกรรมและการพัฒนาในภูมิภาคนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของ สกพอ.

ความร่วมมือครั้งนี้จะครอบคลุมโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการร่วมกัน อาทิ แคมเปญส่งเสริมการลงทุน การจัดโรดโชว์สำหรับนักลงทุน และการสนับสนุนผ่านหน่วยงานที่ปรึกษาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIA) ของธนาคาร ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 หน่วยงาน FDIA ของยูโอบีได้สนับสนุนให้บริษัทกว่า 450 แห่งขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศไทย โดยคาดว่าสร้างมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศกว่า 45,000 ล้านบาท และสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับคนไทยมากกว่า 31,000 ตำแหน่ง

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า การร่วมมือกับธนาคารยูโอบี สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อนเป้าหมายทางเศรษฐกิจของไทย การดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในประเทศไทย และเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมความสามารถของ           สกพอ. ในการเสนอโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจร ไม่เพียงแต่สำหรับโครงการในประเทศเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับฐานลูกค้าที่หลากหลายและขยายตัวเพิ่มขึ้นของธนาคารยูโอบี โดยทั้งสององค์กรมุ่งมั่นดึงดูดการลงทุนมูลค่าสูงที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างโอกาสให้กับชุมชนในประเทศไทย

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก และนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างปัจจัยบวกให้ประเทศไทย โดยนักลงทุนจะได้รับบริการธนาคารที่ราบรื่นไร้รอยต่อ คำแนะนำด้านการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เป็นต้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือ บ้านหนองโกวิทย์ จ.สระแก้ว
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายนพพร สำมณี ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออก ธ.ก.ส. ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มผ้าทอมือ
9 พ.ค. 2025
CIMB THAI มอบสิทธิพิเศษ จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาล รับโค้ดส่วนลด Lazada ทันที!
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หนึ่งในตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.65% มอบแคมเปญสุดพิเศษ สำหรับลูกค้าที่จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI หรือที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
9 พ.ค. 2025
AWC โชว์กำไร 1,969 ล้านบาท ไตรมาส 1/2568 พุ่งก้าวกระโดดต่อเนื่อง เติบโต 23%  สะท้อนศักยภาพผลตอบแทนสูงด้วยเงินปันผลเติบโตถึง 50%  พร้อมเพิ่ม 3 โครงการใหม่เสริมพอร์ตทรัพย์สินคุณภาพ
นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC เผยผลประกอบการไตรมาส 1
9 พ.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy