แชร์

ทีทีบี ฟินทิป สรุปครบ! ข้อควรรู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

อัพเดทล่าสุด: 14 มี.ค. 2025
117 ผู้เข้าชม

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าและเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในปัจจุบันผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน ตามประเภทการใช้ประโยชน์ วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ พร้อมสรุปรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียเท่าไหร่ ใครมีหน้าที่ต้องจ่าย แบบครบจบในบทความเดียว เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการคำนวณและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการเสียภาษี

ทำความรู้จักภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องจ่ายให้กับรัฐทุกปี โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ โดยแต่ละประเภทมีอัตราภาษีและเงื่อนไขการจัดเก็บที่แตกต่างกัน

1. ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ

บุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว

นิติบุคคล เป็นเจ้าของซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล
 
2. ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก โดยเจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะเสียภาษีในอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ กรณีบ้านหลังที่สองขึ้นไปจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ โดยมีการแบ่งประเภทตามมาตรา ดังนี้

มาตรา 3(2)(ก) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
มาตรา 3(2)(ข) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
มาตรา 3(2)(ค) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป

3. ภาษีที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ เช่น โรงแรม ร้านค้า อาคารสำนักงาน จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างคุ้มค่า

4. ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ หรือที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงที่สุด เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปใช้ประโยชน์
 
อย่างไรก็ตาม ที่ดินที่อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อทำประโยชน์ หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือถูกลิดรอนสิทธิตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล จะได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ใครมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การพิจารณาผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะดูจากความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่ระบุในโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุ หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
 
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่มเสียเมื่อไหร่

ผู้ถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ณ วันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ และผู้เสียภาษีต้องชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน

วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีสูตรการคำนวณ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของทรัพย์สินที่ถือครอง ซึ่งจะใช้วิธีการคำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละขั้น ดังนี้

1. วิธีคำนวณภาษีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
คือ มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

2. วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

คือ (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

3. วิธีคำนวณภาษีสำหรับห้องชุด

คือ มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

การเข้าใจเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าเราอาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของบ้านใหญ่โต ซึ่งการรู้จักคำนวณและจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ไม่ต้องวิตกกังวลในภายหลัง และสามารถเตรียมตัวได้ดีกว่าคนอื่น

คลิกเพื่ออ่านบทความฉบับเต็มได้ https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/land-tax-rate-thailand หรือ ติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ  จาก fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

คลิก https://www.ttbbank.com/link/fintips-pr


บทความที่เกี่ยวข้อง
XPG โชว์ฟอร์ม Q1/68 กำไรโตแรง 24.27% เดินหน้าธุรกิจสินเชื่อ-กองทุน-โทเคน พร้อมรับมือเศรษฐกิจท้าทาย 
XSpring Capital (XPG) โชว์ฟอร์มเหนือความท้าทาย ผลงานไตรมาส 1 ปี 2568 โตทุกกลุ่ม กวาดรายได้รวมกว่า 259 ล้านบาท พุ่งกว่า 6.38% มีกำไรสุทธิ 63 ล้านบาท พุ่งกว่า 24.27% จากการเดินเกมรุกธุรกิจสินเชื่อ
9 พ.ค. 2025
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เยี่ยมชมงานลูกค้าและเยี่ยมสาขาในพื้นที่ จ.สระแก้ว
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายนพพร สำมณี ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออก ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงาน วิสาหกิจชุมชนบ้านเจ็ดหลัง พาเพลิน
9 พ.ค. 2025
ซีพี แอ็กซ์ตร้า เติบโตแข็งแกร่งโชว์ไตรมาส 1/2568 ทำรายได้รวม 129,950 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,643 ล้านบาท ออนไลน์โตเด่น ตอกย้ำผู้นำอันดับ 1 Grocery E-Commerce Platform ของไทย
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ หรือ CPAXT) ผู้นำธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ของปี 2568 มีรายได้รวม 129,950 ล้านบาท
9 พ.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy