แชร์

เคทีซีแนะ 4 วิธีไม่เป็นเหยื่อมิจฉาชีพ  ตรวจสอบข้อมูลทุกครั้ง  โอนอย่างมีสติ สอบถามก่อนคลิก อย่าตื่นตระหนก

อัพเดทล่าสุด: 19 พ.ค. 2025
37 ผู้เข้าชม

ในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกรวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ความเสี่ยงที่มาพร้อมความสะดวกนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นไม่แพ้กัน ภัยไซเบอร์ หรือการหลอกลวงผ่านช่องทางดิจิทัล กลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่คนไทยต้องเผชิญทุกวันไม่เว้นแม้กระทั่งเด็ก เยาวชน คนทำงาน และผู้สูงอายุ ที่ล้วนตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพที่พัฒนากลโกงหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง

นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิต ผู้บริหารสูงสุดสายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เคทีซี ในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลสมาชิกเป็นสำคัญ พร้อมระบุว่ากลโกงในปัจจุบันไม่ได้อาศัยเพียงเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้น แต่ใช้อารมณ์ของเหยื่อเป็นเครื่องมือสำคัญโดยกลโกงที่พบบ่อย ได้แก่

  • เว็บไซต์ปลอม (Phishing): หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น บัญชีธนาคาร รหัส OTP (One Time Password) หรือข้อมูลบัตรเครดิต โดยอ้างว่าเป็นหน่วยงานรัฐ ธนาคาร หรือแพลตฟอร์มยอดนิยม
  • ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่: โทรมาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ แจ้งบัญชีผิดปกติ หรือ มีปัญหา พร้อมเร่งให้โอนเงินเพื่อเคลียร์ปัญหา
  • ลิงก์หลอกให้โอน: ส่งข้อความแจ้งปัญหาให้ผู้เสียหายกดลิงก์เข้าไปแก้ไข แต่กลายเป็นการกรอกข้อมูลให้มิจฉาชีพไปใช้ต่อ

ยกตัวอย่าง เคสผู้สูงอายุได้รับข้อความมีพัสดุตกค้าง และต้องกดลิงก์เพื่อตรวจสอบจากนั้นถูกหลอกให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต และรหัส OTP เพียงไม่กี่นาทีเงินในบัญชีถูกดูดออกไปทันทีเกือบ 50,000 บาท

นายไรวินทร์ ย้ำว่า ปัจจุบันรหัส OTP นอกจากตัวเลข 6 หลักแล้วยังมีรายละเอียดอื่นๆเช่น การบอกที่มาว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไร เรียกเก็บจากร้านค้าที่ไหน และราคาเท่าไหร่ ดังนั้นอยากให้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องก่อนกรอกรหัส OTP ทุกครั้ง และหากพบข้อความหรือรายการที่น่าสงสัยไม่ควรรีบโอนเงินหรือกดลิงก์ใดๆ และติดต่อกลับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันทีเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน

อีกกรณีที่พบคือ ผู้ใช้งานรายหนึ่งทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ไม่รู้จัก ปลายทางส่งลิงก์อ้างว่าเป็นสลิปโอนเงิน เมื่อกดลิงก์กลับเป็นเว็บไซต์ปลอมที่หลอกขอข้อมูลบัญชีทำให้เงินหายไปกว่า100,000 บาทภายในไม่กี่นาที ดังนั้นสิ่งที่อยากเน้นย้ำและแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตาม 4 วิธีดังนี้

  1. อย่ากรอกข้อมูลใดๆ ผ่านลิงก์ที่ส่งมาทาง SMS หรือ LINE
    หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ที่แนบมาในข้อความหรือทางแชทโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจหรืออ้างเป็นธนาคาร หน่วยงานราชการ เพราะอาจนำไปสู่การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน
  2. ตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางก่อนโอนเสมอ
    ทุกครั้งที่ทำการโอนเงิน ควรตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางว่าตรงกับหน่วยงาน หรือ บุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ หากชื่อแปลก ไม่คุ้น ต้องหยุดและพิจารณาทันทีก่อนกดโอน
  3. โทรหาหน่วยงานโดยตรงเพื่อยืนยันข้อมูล
    หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัญชีหรือการทำธุรกรรม อย่าตอบกลับหรือโทรกลับเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้หลอกส่งมา แต่ให้ติดต่อสถาบันการเงินหรือหน่วยงานต้นทางโดยตรงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  4. อย่าตื่นตระหนก อย่าทำอะไรเร็วเกินไป
    ความเร่งรีบและความตกใจเป็นจุดอ่อนที่มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้นต้องตั้งสติ และตรวจสอบก่อนตัดสินใจอย่างสม่ำเสมอ

การรู้เท่าทัน และมีสติทุกครั้งในการทำธุรกรรมถือเป็นเกราะชั้นแรกที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากกลโกงของมิจฉาชีพ เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพไม่ได้ใช้เทคโนโลยีหลอกลวงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอาศัยความเร่งรีบ และความกลัวของเหยื่อเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงด้วย ดังนั้นการมีสติอยู่กับตัวเสมอ คิดให้รอบคอบ และตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการทุกครั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ

อย่าให้เพียงเสี้ยววินาทีของความใจร้อน กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหายที่ต้องใช้เวลานับเดือนในการแก้ไข

หากพบข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรเครดิตเคทีซี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 021235000หรือ https://www.ktc.co.th  สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card  หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก เคทีซี ทัช ทุกสาขาทั่วประเทศ

หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทีทีบี เปิดรับสมัคร LEAN for Sustainable Growth รุ่น 20  เสริมแกร่งอุตฯ อาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยกลยุทธ์ AI และแนวคิด ESG สู่ความยั่งยืน
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจสามารถบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมก้าวผ่านความท้าทาย มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
19 พ.ค. 2025
กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.85-33.55 พักฐานรอปัจจัยใหม่
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
19 พ.ค. 2025
ธ.ก.ส. เปิดรับฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก วันแรก สุดคึกคัก  พร้อมเปิดศึกประชันชุดจอมยุทธ์ที่งาน Money Expo Bangkok 2025
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดตัวสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก อย่างเป็นทางการ โดยเปิดรับฝากพร้อมกันทุกช่องทาง
18 พ.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy