แชร์

จากสนามแข่งสู่อนาคต เส้นทาง Formula E ของนิสสัน กับภารกิจขับเคลื่อนอนาคตแห่งการเดินทาง

อัพเดทล่าสุด: 24 มิ.ย. 2025
112 ผู้เข้าชม

ทีม Nissan Formula E ของนิสสัน สร้างผลงานอันโดดเด่นตลอดการแข่งขัน ABB FIA Formula E World Championship ฤดูกาล 2024/2025 ด้วยการขึ้นนำคะแนนสะสมสูงสุดในทั้งสามประเภท ทั้งแบบทีม, นักขับ และผู้ผลิต นับเป็นความสำเร็จที่สะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางอันยาวนานที่นำพาทีมมาถึงจุดนี้ ผ่านการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันขอบเขตของการแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้าให้ก้าวไปข้างหน้า โดยล่าสุด หลังผ่านไปแล้ว 11 สนาม ทีม Nissan Formula E ยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำสูงสุดของตารางการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

การเดินทางของทีม Nissan Formula E

Nissan เริ่มต้นเส้นทางแห่งการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดในสนามแข่ง ด้วยการเข้าร่วมการแข่งขัน ABB FIA Formula E Championship อย่างเป็นทางการในฤดูกาลที่ 5 (2018/19) กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นรายแรกและรายเดียวในรายการนี้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทีม Nissan Formula E ก็เดินหน้าพัฒนาทั้งสมรรถนะของรถและกลยุทธ์การแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยในฤดูกาลล่าสุด 2024/2025 ทีมนำโดย โอลิเวอร์ โรว์แลนด์ และนอร์แมน นาโต ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม คว้าชัยชนะมาแล้วถึง 4 สนาม และเป็นทีมเดียวที่สามารถขึ้นโพเดียมได้ในทุกสนามตั้งแต่เริ่มฤดูกาล

ผลงานอันโดดเด่นยิ่งได้รับการตอกย้ำในสนามที่ 9 ณ Tokyo E-Prix ซึ่งเป็นสนามเหย้าของนิสสัน ทีมสามารถคว้าชัยชนะ โพเดียม และดับเบิลโพลโพซิชันได้สำเร็จ พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำคะแนนสะสมสูงสุดในทั้งสามประเภท ได้แก่ ประเภททีม นักขับ และผู้ผลิต การแข่งขัน Formula E สำหรับนิสสันจึงไม่ใช่แค่เวทีโชว์สมรรถนะ แต่คือ สนามทดสอบอนาคต ที่สะท้อนจิตวิญญาณ Dare to do what others dont กล้าที่จะคิดต่างและลงมือทำเพื่อผลักดันนวัตกรรม ทั้งในด้านเทคโนโลยี มอเตอร์สปอร์ต และการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าภายใต้แผนวิสัยทัศน์ระยะยาว Nissan Ambition 2030 โดยนิสสันยังเป็นผู้ผลิตรายแรกที่ประกาศเข้าร่วมการแข่งขันในยุค GEN4 อย่างเป็นทางการจนถึงปี 2030 ตอกย้ำบทบาทผู้นำในโลกของ EV และระบบขับเคลื่อน e-POWER อย่างแท้จริง

Formula E: ห้องทดลองของนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การแข่งขัน Formula E คือสนามทดลองที่ท้าทายและไร้ข้อจำกัดที่สุดสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า Nissan ใช้เวทีนี้ในการทดสอบขีดความสามารถของระบบมอเตอร์ การจัดการพลังงาน และการควบคุมความร้อนในระดับที่ไม่สามารถทำได้ในการใช้งานทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุค ของรถแข่ง รุ่นที่ 3 (GEN3) ที่ทุกทีมใช้แบตเตอรี่ร่วมกัน การบริหารพลังงานอย่างแม่นยำจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินชัยชนะ ซึ่งนิสสันมีจุดแข็งจากประสบการณ์ด้านขุมพลังแบบไฟฟ้ามายาวนาน ผสานกับข้อมูลจากการใช้งานจริงของผู้ใช้ Nissan LEAF ทั่วโลกที่รวมระยะทางกว่า 16 พันล้านกิโลเมตร ซึ่งถูกนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนารถแข่งของทีม

ในทางกลับกัน ข้อมูลจากสนามแข่ง ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบฟื้นฟูพลังงานจากการเบรก หรือ regenerative braking การตอบสนองของมอเตอร์ และการกระจายแรงเบรก จะถูกส่งต่อไปยังทีมวิศวกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ และ e-POWER ขณะเดียวกันนิสสัน ยังได้ลงทุนสร้างสำนักงานใหญ่ใหม่ของทีม Formula E ทางตอนใต้ของกรุงปารีส พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร ซึ่งช่วยยกระดับการวิจัยและพัฒนาตลอดทั้งกระบวนการ จากสนามแข่งสู่ท้องถนนอย่างแท้จริง

ข้อมูลคือหัวใจของความก้าวหน้า ในโลกที่ข้อมูลคือขุมพลัง และทุกการตัดสินใจต้องอิงจากข้อมูลที่แม่นยำ ทีม Nissan Formula E จึงได้นำระบบ real-time telemetry มาใช้เพื่อวิเคราะห์รายละเอียดการแข่งขันในทุกๆ สนาม ซึ่งเปรียบเสมือน สายตาและสติปัญญา ของทั้งทีมวิศวกรรมและนักแข่ง ที่สามารถส่งข้อมูลจากตัวรถแข่งมากกว่า 1,000 จุดต่อรอบสู่ศูนย์ควบคุมได้แบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลเหล่านี้ครอบคลุมทั้งอุณหภูมิแบตเตอรี่ อัตราการใช้พลังงาน ระบบ regenerative braking การกระจายแรงเบรก น้ำหนักที่ถ่ายสู่ในแต่ละล้อ ไปจนถึงการตอบสนองของช่วงล่างและยางในแต่ละจังหวะของสนาม

สิ่งที่ทำให้ระบบ telemetry ของ Formula E มีความพิเศษคือ ความละเอียดและความรวดเร็วในการประมวลผล ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถ มองเห็น ทุกการตอบสนองของรถได้ในขณะที่นักแข่งยังอยู่บนแทร็ค ไม่ว่าจะเป็นการปรับกลยุทธ์ระหว่างรอบ การ fine-tune พลังงานแบบเสี้ยววินาที ไปจนถึงการตัดสินใจเรื่องการใช้ Attack Mode หรือพลังงานสำรอง โดยทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดในแต่ละสนาม

Cristina Mañas Fernández หัวหน้าฝ่าย Performance and Simulation ของทีม Nissan Formula E อธิบายว่า การที่เรามีระบบ telemetry ที่แม่นยำ ช่วยให้วิศวกรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องยนต์กับฟีดแบคจากนักแข่งได้ทันที ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจว่า รถควรถูกปรับค่าการขับขี่อย่างไรในรอบถัดไป เพื่อดึงสมรรถนะให้ถึงขีดสูงสุดโดยไม่สูญเสียความสมดุล

จากสนามแข่งสู่ศูนย์การวิจัยและพัฒนา

การร่วมแข่งขันใน Formula E ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างทีมมอเตอร์สปอร์ตและศูนย์วิจัยและพัฒนาของนิสสันในญี่ปุ่นอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในยุคยานยนต์ที่ 3 (GEN3) ที่ Nissan ได้เข้าควบคุมทีมแข่ง Formula E อย่างเต็มตัว และแต่งตั้งทาดาชิ นิชิคาวะ (Tadashi Nishikawa) วิศวกรผู้มีประสบการณ์กว่า 20 ปีจากฝั่งยานยนต์ ขึ้นเป็น Chief Powertrain Engineer เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างสองโลกเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของกระบวนการนี้คือการพัฒนา ระบบขับเคลื่อน Nissan e-4ORCE 05 ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี e-4ORCE ในรถยนต์รุ่นเรือธงของแบรนด์ โดยถูกออกแบบให้มีความสามารถในการจัดการแรงบิดและพลังงานได้อย่างแม่นยำ รองรับการแข่งขันที่ต้องอาศัยความสมดุลและความเร็วในระดับสูง ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ทีมนิสสันมีคะแนนขึ้นนำทั้งสามประเภทในฤดูกาลล่าสุด และตอกย้ำว่าเทคโนโลยีจากสนามแข่งสามารถต่อยอดสู่อนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนได้อย่างแท้จริง


Formula E กับบทพิสูจน์วิสัยทัศน์ Ambition 2030 ของนิสสัน

การเข้าร่วมการแข่งขัน Formula E คือหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่นิสสันใช้ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ Ambition 2030 ให้เป็นรูปธรรม วิสัยทัศน์นี้มุ่งสร้างโลกที่ปลอดมลพิษ ปลอดอุบัติเหตุ และขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่การพัฒนาเทคโนโลยี แต่รวมถึงการปรับโครงสร้างความคิดและระบบนิเวศยานยนต์ทั้งระบบ

ภายใต้แรงกดดันและสภาพแวดล้อมสุดท้าทาย นิสสันมุ่งมั่นที่จะใช้เวทีนี้ในการพัฒนาโซลูชันที่สามารถต่อยอดสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยตั้งเป้าเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า และ e-POWER ทั่วโลกรวมกว่า 20 รุ่นภายในปีงบประมาณ 2569 และตั้งยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกราว 50% ภายในปี 2573

นิสสันยังต้องการวางรากฐานสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี แบตเตอรี่แบบ All-Solid State (ASSB) ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้จริงภายในปีงบประมาณ 2571 และจะเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรม EV โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่การใช้ EV ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัด คุ้มค่า และใช้งานง่าย

เส้นทาง Formula E ของนิสสันจึงไม่ได้สะท้อนแค่ชัยชนะในสนามแข่ง แต่คือ ตัวเร่งการเชื่อมต่อของระบบ หรือ system accelerator ที่เชื่อมต่อระหว่าง สนามแข่ง ห้องวิจัย สายการผลิต และสังคม ที่เดินหน้าด้วยจิตวิญญาณของ Dare to do what others dont ความกล้าท้าทายกรอบเดิม ๆ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างมีเป้าหมาย ทุกการแข่งขันจึงไม่ใช่เพียงจุดหมาย แต่คือก้าวย่างที่ตอกย้ำว่านิสสันพร้อมจะนำพาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อนาคตที่ฉลาด สะอาด และยั่งยืนกว่าที่เคย


บทความที่เกี่ยวข้อง
ออมสิน คว้า 2 รางวัลระดับเอเชีย AREA 2025 Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment  ตอกย้ำบทบาท Social Bank ผ่านนวัตกรรมความปลอดภัย MyMo Secure Plus
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus
30 มิ.ย. 2025
ดร.สมพร สืบถวิลกุล คว้ารางวัล THAILAND TOP CEO OF THE YEAR 2025  ประเภทอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรแห่งความยั่งยืน
ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติ สุดยอดผู้บริหารองค์กรแห่งปี
30 มิ.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy