แชร์

กนง. มีมติคงดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75% ท่ามกลางความเสี่ยงทั้งภายในและต่างประเทศ

อัพเดทล่าสุด: 30 มิ.ย. 2025
108 ผู้เข้าชม
  • กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.75% ต่อปี จากเศรษฐกิจไทยครึ่งแรกของปี 2568 ที่ขยายตัวสูงกว่าที่คาดจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงต่อเนื่องเริ่มส่งผลดีต่อภาคการผลิตบางส่วน ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งชายแดน และความไม่แน่นอนทางการเมือง
  • โดย กนง. ได้ปรับการคาดการณ์ GDP ปี 2568 สูงขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.0% มาเป็น 2.3% ทั้งนี้ กนง. เห็นว่าเศรษฐกิจในปี 2568 ไม่น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 2% หากไม่มี Shock จากเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย จากปัจจัยด้านอุปทาน ขณะที่ยังคงต้องติดตามภาวะการเงินที่ตึงตัวและความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น
  • ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมสู่ระดับ 1.50% ภายในปี 2568 จากเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยขึ้นกับผลของการเจรจากับสหรัฐฯ หลังความคืบหน้าของไทยยังไม่ชัดเจน และผลกระทบต่อราคาพลังงานหลังความขัดแย้งในตะวันออกกลางร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง
กนง. คงอัตราดอกเบี้ย จากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนท่ามกลางความเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศที่สูงขึ้น ขณะที่ภาวะการเงินยังตึงตัว เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.75% ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 3/2568 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
  • เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้จากการประชุมครั้งก่อน จากการเร่งส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งปีแรกที่ส่งผลดีบางส่วนต่อภาคการผลิต โดยคาดว่าการขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง ครึ่งปีหลังของ 2568 มีทิศทางชะลอตัว จากการส่งออกหลังปัจจัยชั่วคราวหมดลง พร้อมกับผลการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ที่จะชัดเจนขึ้น
  • ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศมีสัญญาณอ่อนแรงลงตามกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ถดถอย
  • ภาคท่องเที่ยว แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลง แต่รายได้ จากการท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวระยะไกล ทั้งนี้ ภาคธุรกิจบางส่วนยังคงเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ
  • กนง. ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ไทย (GDP) สำหรับปี 2568 ขึ้นเป็น 2.3% จากประมาณการเดิม 2.0% และในปี 2569 ปรับลดลงจาก 1.8% เป็น 1.7%
  • โดยหลักจากการส่งออกที่ไม่รวมทองคำ ที่ใน H1/68 จะขยายตัวได้ที่ 10.9% แต่จะกลับมา หดตัวในช่วง H2/68 ที่ -2.9% จากผลกระทบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ
  • โดย กนง. ย้ำว่าเศรษฐกิจในปี 2568 ไม่น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 2% หากไม่มี Shock จากเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง
  • ภาวะการเงินของไทยยังคงมีความตึงตัว สะท้อนจากสินเชื่อที่ยังหดตัวโดยเฉพาะสินเชื่อโดยเฉพาะ SMEs และครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำ แม้สินเชื่อขนาดใหญ่จะยังขยายตัวได้ แต่เห็นแนวโน้มการชำระคืนหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนความต้องการของภาคธุรกิจที่ลดลงในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ด้านคุณภาพสินเชื่อยังปรับด้อยลงโดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นประเด็นที่ กนง. ติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด
  • ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กนง. ประเมินว่ามีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% ในปี 2568 และ 0.8% ในปี 2569 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ปรับลดลงตามราคาน้ำมันโลกและราคาอาหารสดที่ผันผวน ซึ่งทั้งสองหมวดนี้คิดเป็นสัดส่วน 30% ของตะกร้าเงินเฟ้อ
  • อย่างไรก็ตาม กนง. ประเมินว่าภาวะดังกล่าวยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากไม่มีการปรับลดของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง
  • ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 1.0% ในปี 2568 และ 0.9% ในปี 2569 และเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ไม่มีสัญญาณของการหลุดออกจากจุดยึดเหนี่ยว (de-anchoring) โดยระยะข้างหน้า กนง. กังวลต่อความเสี่ยงจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลให้ราคาพลังงานปรับสูงขึ้น
Implication:
  • Krungthai COMPASS ยังคงคาดว่า กนง. อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมสู่ระดับ 1.50% จากเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง แม้ กนง. จะปรับประมาณการณ์ GDP ปี 68 ให้สูงขึ้นอยู่ที่ 2.3% จาก
ตัวเลขจริงที่สูงกว่าคาด แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ทั้งการเร่งส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยในช่วงครึ่งปีหลังที่ปัจจัยเสี่ยงเริ่มส่งผลชัดเจนมากขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจ H2/68 ขยายตัวต่ำกว่า 1% ประกอบกับ เศรษฐกิจในประเทศที่มีสัญญาณอ่อนแรง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่อาจหดตัวได้ หากผลการเจรจากับสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันความคืบหน้าของการเจรจายังค่อนข้างจำกัด ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk ) ซึ่งคาดการณ์ได้ยาก
  • ในระยะข้างหน้าต้องติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน หลัง กนง. คงดอกเบี้ย ท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่มีความผันผวนสูง ทั้ง 1) ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะผลต่อราคาน้ำมัน และ 2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ (Fed) ที่ยังไม่แน่นอนจากผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าและราคาน้ำมันที่อาจส่งผลให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเงินบาทและค่าเงินใน

ภูมิภาคนับตั้งแต่การประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ (Liberation Day) มีความผันผวนต่อเนื่อง และปัจจุบันอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา (มากกว่า percentile ที่ 75) ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินเคลื่อนไหวรุนแรงหากความเสี่ยงเร่งตัวขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
ออมสิน คว้า 2 รางวัลระดับเอเชีย AREA 2025 Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment  ตอกย้ำบทบาท Social Bank ผ่านนวัตกรรมความปลอดภัย MyMo Secure Plus
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus
30 มิ.ย. 2025
ดร.สมพร สืบถวิลกุล คว้ารางวัล THAILAND TOP CEO OF THE YEAR 2025  ประเภทอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรแห่งความยั่งยืน
ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติ สุดยอดผู้บริหารองค์กรแห่งปี
30 มิ.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy