แชร์

ข่าวดี!! ต้นทุนค่าไฟลด “กกพ.” ดัน 3 ทางเลือกทบทวนค่าไฟส่งท้ายปีที่ 3.98 - 5.10 บาท/หน่วย

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ค. 2025
159 ผู้เข้าชม

กกพ. เคาะเสนอ 3 ทางเลือกค่าไฟงวด ก.ย. - ธ.ค. 2568 ที่ 3.98 5.10 บาทต่อหน่วย ชี้ต้นทุนหลักค่าเชื้อเพลิงคลายตัว ส่งผลแนวโน้มค่าไฟลดลง ใช้โอกาสนี้ทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงคงค้างสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้ระบบ

ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 26/2568 (ครั้งที่ 968) เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 มีมติให้เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับงวด ก.ย. - ธ.ค. 2568 เป็น 3 กรณี ตั้งแต่เรียกเก็บต่ำสุดที่ 3.98 บาท ต่อหน่วยจนถึงสูงสุดที่ 5.10 บาทต่อหน่วย



ปัจจัยบวกหลักๆ ที่ส่งผลดีต่อค่าเอฟทีและแนวโน้มค่าไฟที่ลดลงในงวด ก.ย. - ธ.ค. 2568 มาจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากอ่าวไทยกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนวิกฤตราคาก๊าซธรรมชาติ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าช่วงปลายปีมีแนวโน้มลดลง เข้าสู่ภาวะปกติ แต่สาเหตุที่ กกพ. ยังไม่สามารถประกาศปรับลดค่าเอฟทีและค่าไฟได้ทันที ก็เพราะว่ายังคงมีภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อีกกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บค่าไฟฟ้าเพื่อลดหนี้ กฟผ. ในช่วงต้นปีก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ 8,295 ล้านบาท ดร.พูลพัฒน์ กล่าวระหว่างการแถลงข่าว

ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยหลักๆ ยังคงเป็นภาระการชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนคงค้างลง 13,142 ล้านบาท แต่ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจริงสูงกว่าการคาดการณ์ ทำให้สามารถลดต้นทุนคงค้างจริงได้เพียง 4,847 ล้านบาท ซึ่งภาระการชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันค่าเอฟทีต่อไปจนกว่าจะหมดภาระ

อย่างไรก็ตามแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากงวดก่อนหน้า 1.32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด พ.ค. - ส.ค. 68) เป็น 32.95 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และราคา LNG Spot ที่มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตามราคาในตลาดโลกมาอยู่ที่ 13.9 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 

         ทั้งนี้ ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 26/2568 (ครั้งที่ 968) เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2568 แบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข ดังนี้

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) และการคำนวณกรณีเรียกเก็บมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 131.94 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้ม (1) ต้นทุนเดือนกันยายน ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และ (2) เงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 66,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 100.08 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) จำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 22.85 สตางค์ต่อหน่วย) รวมจำนวน 122.93 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงิน
ที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เมษายน 2568 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณ ได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.10  บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากระดับ 3.98 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน



กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 109.09 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 66,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 100.08 สตางค์ต่อหน่วย) โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.87 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากระดับ 3.98 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 22.85 สตางค์ต่อหน่วย)

กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่า Ft เท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 19.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้จำนวน 7,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 10.71 สตางค์ต่อหน่วย) เพื่อนำไปพิจารณาทยอยคืนภาระค่า AF ให้แก่ กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างของราคาก๊าซธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บ เดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ในระบบของ กฟผ. ต่อไป ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงที่เท่ากับ 3.98 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน

                     รายละเอียดการเปรียบเทียบสมมติฐานที่ใช้คำนวณค่าเอฟที กับงวดก่อนหน้า

  


หมายเหตุ: * ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566

สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย

ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 17 - 28 กรกฎาคม 2568 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง
กรุงศรีเผยผลกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2568 จำนวน 15.83 พันล้านบาท รักษาระดับผลการดำเนินงานผ่านการบริหารต้นทุนเสริมประสิทธิภาพเต็มกำลัง เน้นยุทธศาสตร์การเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพ
กรุงเทพฯ (18 กรกฎาคม 2568) กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2568 มีกำไรสุทธิจำนวน 15.83 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.5%
18 ก.ค. 2025
การเคหะแห่งชาติเปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตั้งเป้าพัฒนาที่อยู่อาศัยคาร์บอนต่ำสำหรับผู้มีรายได้น้อย
การเคหะแห่งชาติจัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนคาร์บอนต่ำ โดยนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ  ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ มอบหมายให้นายมงคล จันทษี รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นประธานการจัดสัมมนา โดยมี รศ.รอ.ดร.ชูวิทย์ สุจฉายา​ นักวิจัย​สถาบันอาศรมศิลป์
18 ก.ค. 2025
รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ครองใจผู้บริโภค 14 ปีซ้อน  คว้ารางวัล No.1 Brand Thailand 2025 ในหมวดรถจักรยานยนต์
รถจักรยานยนต์ ตอกย้ำความเป็นแบรนด์อันดับหนึ่ง ด้วยการคว้ารางวัล No.1 Brand Thailand 2025 ในกลุ่มรถจักรยานยนต์เป็นปีที่ 14
18 ก.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy