Krungthai Compass ชี้ อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ติดลบ 0.47% คาดทั้งปีเงินเฟ้อต่ำ หนุน กนง. ลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง ในปีนี้

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. ติดลบที่ -0.47%YoYจากราคาอาหารสดหดตัวตามราคาเนื้อสุกรที่ปรับลดลง และราคาพลังงานซึ่งหดตัวตามราคาน้ามันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้าที่อยู่ต่ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานแตะ 0.37%YoYชะลอจากเดือนก่อนที่ 0.43%YoYทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่ -0.79%YoYและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.44%YoY
  • KrungthaiCOMPASSประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีซึ่งมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่า จะหนุนให้ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ลง 2 ครั้งติดต่อกันสู่ระดับ 2.0%แม้อัตราเงินเฟ้อในระยะข้างมีแนวโน้มกลับมาเป็นบวกในไตรมาสที่ 2 แต่คาดว่าทั้งปีเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ต่ากว่า 1%ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงกดดันให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงยังมีน้อย KrungthaiCOMPASSประเมินว่า กนง. มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 10 เม.ย. 67 และวันที่ 12 มิ.ย. 67 เพื่อประคองเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่ากว่าระดับศักยภาพในอดีตที่ 3%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. อยู่ที่ -0.47% หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6ตามการหดตัวของราคาอาหารสดและราคาพลังงาน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. ติดลบ -0.47%YoY หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ -0.4% [1]จากราคาหมวดอาหารสดที่หดตัว -1.91%YoY ตามราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับลดลงต่อเนื่อง และราคาพลังงานหดตัว -2.25%YoY จากเดือนก่อนที่ -3.33%YoY ตามราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงานของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานหดตัวในอัตราที่น้อยลงจากเดือนก่อนจากราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ปรับเพิ่มขึ้น

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.37%YoY ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 0.43%YoY โดยราคาสินค้าที่ขยายตัวชะลอลง ได้แก่ เครื่องประกอบอาหาร เช่น น้ำมันพืช อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน ของใช้ส่วนตัว ค่าโดยสารสาธารณะ เป็นต้นสำหรับราคาสินค้าที่ขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสแรกอยู่ที่ -0.79%YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.44%Yo

Implication:

  • KrungthaiCOMPASS ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำจะเป็นปัจจัยหนุนให้ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าคาด อัตราเงินเฟ้อติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และมีแนวโน้มทยอยกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะอยู่ต่ำกว่า1.0% ซึ่งเป็นระดับกรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อ และปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อสูงเกินกว่ากรอบเป้าหมายที่ 3% ยังมีไม่มากนัก สอดคล้องกับมุมมองของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากเดิมที่ (-0.3%)-1.7%(ค่ากลาง 0.7%) เป็น 0.0%–1.0%(ค่ากลาง 0.5%) ขณะที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะซึ่งมีความเปราะบาง สะท้อนจากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างปรับลดประมาณเศรษฐกิจในปีนี้เหลือเพียง 2.8%[2] (KrungthaiCOMPASS ประเมินเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 2.7%) ต่ำกว่า 3% ซึ่งเคยเป็นระดับศักยภาพในอดีต สะท้อนถึงเศรษฐกิจไทยมีความอ่อนแอและต้องการนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น ดังนั้น ภายใต้ภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อประคองเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า สอดดคล้องกับวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในอดีต ซึ่ง ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ โดยคาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 10 เม.ย. 67 และวันที่ 12 มิ.ย. 67 ครั้งละ 25bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดสู่ระดับ 2.0% ต่อปี
Visitors: 7,246,698